ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ กำหนดให้สถานประกอบการที่มีผู้ปฏิบัติงาน ตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปจะต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยดังกล่าวเพื่อทำหน้าที่คอยดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงาน คปอ นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกค้าตามสัดส่วนที่เท่ากันจำนวน คปอ ที่จะต้องมีในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 50-99 คน ให้มี คปอ. ไม่น้อยกว่า 5 คน สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 100-499 คน ให้มี คปอ. ไม่น้อยกว่า 7 คน สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ให้มี คปอ. ไม่น้อยกว่า 11 คน
สำรวจการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีความปลอดภัย และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถาบัน อย่างน้อยเดือนละครั้ง พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อหาแนวทางป้องกัน ลดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเดือดร้อนรำคาญใจอันเนื่องมาจากการทำงาน เพื่อนำเสนอต่อผู้อำนวยการสถาบัน นำเสนอแนวทางการปรับปรุงหรือมาตรการให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาบัน วางระบบการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อให้บุคลากรทุกคนปฏิบัติตาม ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตามที่ผู้อำนวยการสถาบันมอบหมาย
ตามคำสั่งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ที่ 0050/2564 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ผสดร. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้ง โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
1. นายอภิชาต เหล็กงาม ประธานกรรมการ
2. นายเฉลิมชนม์ วรรณทอง กรรมการฝ่ายบังคับบัญชา
3. นายภาสิต ลาดเหลา กรรมการฝ่ายบังคับบัญชา
4. นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ กรรมการฝ่ายบังคับบัญชา
5. เรือเอก ธีรศักดิ์ ปัญญาภีรวัฒน์ กรรมการฝ่ายบังคับบัญชา
6. นายภควัต ประสิทธิ์ กรรมการฝ่ายปฏิบัติการ
7. นายธฤษพงศ์ ศิริบูรณ์ กรรมการฝ่ายปฏิบัติการ
8. นายณัฐวุฒิ ฐิติพงศ์กุล กรรมการฝ่ายปฏิบัติการ
9. นายณัฐพิชญ์ ทองไสว กรรมการฝ่ายปฏิบัติการ
10. นายชยานันท์ พันธ์ทอง กรรมการฝ่ายปฏิบัติการ
11. นางกัลยา ดีทอง เลขานุการ
การได้มาซึ่ง คปอ. นั้น จะต้องดำเนินการ ดังนี้
1.ประธาน คปอ. คือ บุคลากรที่เป็นผู้อำนวยการสถาบันหรือเป็นบุคลากรระดับบริหารที่ผู้อำนวยการสถาบันมอบหมายให้เป็นประธาน
2.ผู้แทนฝ่ายบริหาร คือ บุคลากรที่เป็นบุคลากรระดับบริหารที่ผู้อำนวยการสถาบันมอบหมายให้เป็นผู้แทนฝ่ายบริหาร
2.ผู้แทนฝ่ายปฏิบัติการ คือ จัดให้มีการเลือกตั้งในสถาบัน เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้มีตัวแทนผู้ปฏิบัติงานเข้าไปอยู่ในคณะการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อเป็นกระบอกเสียงของบุคลากรทุกคนทุกคน
3.การอบรม คปอ.หลังจากที่ได้เลือกตั้ง และได้ตัวแทนอย่างเป็นทางการแล้ว คปอ.ทุกท่าน จะต้องเข้ารับการอบตามหลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 12 ชั่วโมง และได้รับการแต่งตั้งจากผู้อำนวยการสถาบัน ก่อนที่จะรายงานต่อสำนักงานสวัสดิการเเละคุ้มครองเเรงงานต่อไป